วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส่งข้อสอบ

1. นักศึกษาจงค้นคว้างานวิจัย / วิทยานิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับ empowerment หรือ motivation ในเชิงการบริหารงานการพยาบาล (50 คะแนน)
1.1 สรุปเป็นบทความเชิงวิชาการ ความยาวไม่เกิน 1 ½ หน้า กระดาษ A4
     
       งานวิจัยเรื่อง ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร
      งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร โดยผลการศึกษาในครั้งนี้ จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากลยุทธวิธีในการจูงใจให้พยาบาลทำงานอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งเป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพการทำงานของบุคลากร โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาลประจำการใน โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ทุกแผนกของโรงพยาบาล จำนวน 127 คน ซึ่งได้มาจากการเก็บข้อมูลได้ทั้งหมด โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถามตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยดำเนินการตามลำดับขั้นดังนี้
    1. ผู้วิจัยขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท เพื่อขออนุญาตเก็บข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท ที่เป็นกลุ่มประชาการ
    2. ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเอง โดยพบกับหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลททหัวหน้าแผนก และพยาบาลประจำการ เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และขอความร่วมมือในการทำวิจัยครั้งนี้ และเก็บข้อมูลที่ตอบเสร็จแล้วคืนภายใน 3 สัปดาห์ โดยส่งแบบสอบถามจำนวน 140 ฉบับ ได้คืนมา 127 ฉบับ
    3. ผู้วิจัยนำแบบสอบถามจำนวน 127 ฉบับ มาคัดเลือกเฉพาะฉบับที่สมบูรณ์ ปรากฏว่า สมบูรณ์ทุกฉบับจึงนำมาวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป  ซึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ 3 ด้าน คือ
   1. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และลักษณะงาน โดยการคำนวณค่าความถี่ ค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลด้านอายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของพยาบาล รายได้ต่อเดือน ทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล ความรับผิดชอบต่อครอบครัว สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับสมาชิกในครอบครัว บรรยากาศในการทำงาน สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้บังคับบัญชา สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับเพื่อนร่วมงาน สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ใต้บังคับบัญชา และด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท โดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา โดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
    3. ค้นหาตัวพยากรณ์ที่สามารถพยาการณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ


ซึ่งผลการศึกษาค้นคว้าสรุปได้ดังนี้
    1. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 มี 8 ตัวแปร ได้แก่ ลักษณะงานพยาบาลผู้ป่วยเด็ก ทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล ความรับผิดชอบต่อครอบครัว สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับสมาชิกในครอบครัว บรรยากาศในการทำงาน สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้บังคับบัญชา สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับเพื่อนร่วมงาน และสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ใต้บังคับบัญชา
    2. ตัวแปรที่ไม่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 มี 10 ตัวแปร ได้แก่ อายุ สถานภาพโสด สถานภาพคู่ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของพยาบาล ระดับการศึกษาปริญญาตรี ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน ลักษณะงานพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูง ลักษณะงานพยาบาลผู้ป่วยใน และลักษณะงานพยาบาลผู้ป่วยนอก
    3. ตัวแปรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มี 2 ตัวแปร โดยเรียงลำดับจากตัวแปรที่ส่งผลจากมากไปน้อย คือ สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับเพื่อนร่วมงาน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของพยาบาล

1.2 กรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัย

ตัวแปรอิสระ                                                                                  ตัวแปรตาม


1. ตัวแปรด้านส่วนตัว ได้แก่                                                
    1.1 อายุ
    1.2 สถานภาพสมรส
    1.3 ประสบการณ์ทำงาน
    1.4 ระดับการศึกษา                                                             แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
    1.5 รายได้ต่อเดือน
    1.6 ลักษณะงาน
    1.7 ทัศนคติต่อวิชาชีพ


2. ตัวแปรด้านครอบครัว ได้แก่
    2.1 ความรับผิดชอบต่อครอบครัว
    2.2 สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับสมาชิกในครอบครัว


3. ตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่
    3.1 บรรยากาศในการทำงาน
    3.2 สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้บังคับบัญชา
    3.3 สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับเพื่อนร่วมงาน
    3.4 สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ใต้บังคับบัญชา


1.3 สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัย/วิทยานิพนธ์


      1.3.1 ทฤษฎีการจูงใจของ David Mc Celland : (Achievement Theory)
              แมคเคลลันด์ ( นิรนันท์ เอื้อทวีทรัพย์.2539:26; อ้างอิงจาก Mc Celland.1971 ) ได้กล่าวว่า ในการวิจัยเกี่ยวกับการจูงใจได้ระบุถึงแรงจูงใจที่สำคัญ 3 อย่างคือ ความต้องการด้านสังคม อำนาจ และความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง
              Mc Celland ไม่จัดความสำคัญของแรงจูงใจทั้งสามอย่างในแต่ละคน เพราะบางคนอาจมีความต้องการทางด้านความสัมพันธ์ทางด้านสังคมเป็นอย่างมาก ในขณะที่บุคคลอื่นอาจจะมีความต้องการทางด้านอำนาจเหนือบุคคลอื่น หรืออาจจะมีความสนใจน้อยในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบุคล แต่จะให้ความสำคัญกับความสำเร็จในเป้าหมายของงานมากกว่า แต่บุคคลใดบุคคลหนึ่งอาจจะมีคะแนนสูงทั้งความต้องการทางด้านความสำเร็จและความต้องการทางด้านอำนาจแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทั้ง 3 อย่าง สามารถนำมาอธิบายได้ดังนี้
            1. ความต้องการความสำเร็จ เป็นแรงขับเพื่อให้ได้ซึ่งความสำเร็จหรือเป็นแรงจูงใจที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีกว่า และมีประสิทธิภาพสูงกว่าและมีผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
            2. ความต้องการความรัก เป็นความต้องการเพื่อสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
            3. ความต้องการมีอำนาจบารมี เป็นความต้องการที่จะมีอำนาจในการบังคับบัญชาและมีอิทธิพลเหนือคนอื่นนั่นเอง


       1.3.2 ทฤษฎีการจูงใจของ Frederic Herzberg : Herzberg Dual Factor Theory
                เฮอร์ซเบิร์ก ( กรองจิตต์ พรหมรักษ์ .2529:18-21; อ้างอิงจาก Frederic Herzberg. 1959.The Motivation to work.) กล่าวว่า แนวคิดที่สำคัญสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้
              1. มีมิติที่แตกต่างกันอยู่ 2 มิติ เกี่ยวกับเรื่องปัญหาการจูงใจ ในปลายด้นหนึ่งเป็นได้ทั้งสาเหตุของความไม่พอใจและสามารถป้องกันความไม่พอใจได้ ซึ่งเรียกว่า องค์ประกอบเสริมแรงหรือองค์ประกอบส่งเสริม (Hygiene Factor) และอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ องค์ประกอบที่จูงใจ (Motivation Factor) นั่นก็คือ ถ้าหากว่ามีองค์ประกอบของการจูงใจอยู่แล้ว ก็จะนำไปสู่ทัศนคติด้านบวกและแรงจูงใจที่แท้จริงได้
              2. องค์ประกอบส่งเสริม (Hygiene Factor) ซึ่งหมายถึง องค์ประกอบต่างๆ ที่สามารถเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่พอใจ เช่น ค่าจ้าง ผลประโยชน์ สภาพแวดล้อมของการทำงานทางด้านกายภาพ นโยบายและการบริหารงานขององค์การ เป็นต้น หากได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ความไม่พอใจก็จะหายหมดไป แต่ก็จะไม่สร้างหรือมีผลทำให้เกิดทัศนคติทางบวกหรืองแรงจูงใจขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Hygiene Factor ใช้เพื่อป้องกันการเกิดความไม่พอใจ แต่จะไม่ทำหน้าที่เป็นเครื่องเสริมสร้างส่วนบุคคล ดังนั้นHerzberg ได้ชี้ให้เห็นว่าองค์ประกอบทางด้านส่งเสริมนี้จะสามารถนำบุคคลไปสู่จุดของความเป็นกลางเท่านั้น
               3. องค์ประกอบที่จูงใจ (Motivation Factor) หมายถึง องค์ประกอบที่นำไปสู่การพัฒนาทัศนคติทางด้านบวกและการจูงใจ และทำหน้าที่เหมือนเครื่องเสรมสร้างน้ำใจส่วนบุคคลนั้น รวมถึงการยกย่องนับถือ ความรู้สึกของการได้รับผลสำเร็จและความสำเร็จ ความรู้สึกว่างานและเขามีความสำคัญ


1.3.3 ทฤษฎีการจูงใจของ Maslow (Maslow’s Theory of Motivation)
         มาสโลว์ ( สมพงษ์ เกษมสิน 2515:54; อ้างอิงจาก Maslow.1954. Motivation and Personality. ) กล่าวไว้ว่า ความต้องการของคนอาจจะแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ทฤษฎีลำดับความต้องการของ Maslow จะมีข้อสมมติฐาน ดังต่อไปนี้
        1. คนเป็นสัตว์อย่างหนึ่งที่มีความต้องการ ความต้องการของคนไม่มีที่สิ้นสุด
        2. ความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้รับการตอบสนองความพอใจแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจพฤติกรรมต่อไปอีก
        3. ความต้องการของคนจะเรียงลำดับตามความสำคัญ เมื่อต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอย่างอื่นจะเกิดขึ้นทันที


ก.ความต้องการ 5 ขั้นตอน เรียงลำดับได้ดังนี้


                   ความต้องการ ที่จะสำเร็จตามความ นึกคิดของตนเอง
                      (Self Actualization) ความต้องการชื่อเสียง (Esteem)
                             ความต้องการทางด้านสังคม (Social)
                       ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Security)
                       ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological)
                      ลำดับขั้นของความต้องการ (The Needs Hieraachy)
   1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) คือ การทำให้เกิดความพึงพอใจให้แก่ร่างกาย Maslow พิจารณาว่า ความต้องการทางด้านร่างกาย เป็นเสมือนพื้นฐานที่มาก่อนความต้องการสิ่งอื่นทั้งหมด ดังเช่น เมื่อคนหนึ่งมีความหิวจัดและความต้องการอาหารอย่างรุนแรง ความต้องการอย่างอื่นจะถูกลืมไปหมดสิ้น
    2. ความต้องการทางด้านความปลอดภัย (Safety Needs) เมื่อความต้องการทางด้านร่างกายได้รับการตอบสนองเป็นที่พอใจแล้ว ความต้องการทางด้านความปลอดภัยก็จะเกิดขึ้นตามมา ความต้องการความปลอดภัยนี้มีอยู่ 2 แบบ คือ ความต้องการความปลอดภัยทางด้านร่างกาย และความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ
     3. ความต้องการทางด้านสังคม หรือการยอมรับเป็นพวกพ้อง (Social Love or Belonginng Needs) เมื่อความต้องการทางด้านร่างกายและความต้องการความปลอดภัยได้รับการตอบสนองเป็นที่พอใจแล้ว ความต้องการของคนเราจะมีความรู้สึกว่า ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มได้รับการยอมรับและมีความสำคัญต่อกลุ่มก็จะเกิดขึ้น คนเราจะแสวงหาเพื่อน ปรารถนาที่จะมีเพื่อนพ้อง ความต้องการทางด้านความรักนี้ เป็นความต้องการที่จะเป็นผู้ให้ความรัก และได้รับความรักใคร่จากคนอื่นด้วย การขาดความรักในความคิดของ Maslow เห็นว่าสามารถทำให้เกิดผลต่อเนื่องที่เลวร้ายของการปรับตัวไปในทางที่เลวได้
      4. ความต้องการมีชื่อเสียง มีฐานะเด่นทางสังคม (Esteem Needs) เป็นความต้องการที่จะเป็นบุคคลที่มีความมั่นใจในตนเอง การยอมรับและเป็นที่ยกย่องของคนอื่น เพื่อทำงานสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้สำเร็จ ความพึงพอใจในการที่มีฐานะเด่นทางสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
       5. ความต้องการได้รับความสำเร็จตามความนึกคิด หรือการบรรลุสัจจการแห่งตน (Self-Actualization needs) เป็นความต้องการระดับสูง คือ ความต้องการรู้จักตนเองว่ามีคุณค่า มีความรู้ ความสามารถแท้จริงเพียงใด โดยเฉพาะในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ชาติ เป็นความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่างตามความคิดของตน


      สิ่งที่มาสโลว์ได้ชี้ให้เห็นถึงการจูงใจคนที่สำคัญก็คือ การที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมนั้น จำเป็นต้องเข้าใจถึงธรรมชาติแห่งความต้องการของบุคคลอย่างถ่องแท้เสียก่อน ดังนั้น ความพึงพอใจในงานของบุคคลจะเกิดขึ้นได้ย่อมขึ้นอยู่กับผลตอบแทนที่ได้รับการตอบสนองความต้องการตามลำดับขั้นของแต่ละบุคคล


ข.ความสำคัญของขั้นตอนของความต้องการ (Significance of the need Hierarchy)
       ความต้องการเหล่านี้มีความสำคัญเป็นขั้นตอนตามแนวตั้ง ตัวที่เป็นกลยุทธ์ในการจูงใจให้เกิดพฤติกรรมในการทำงานนั่นก็คือ ความต้องการทางด้านร่างกาย และทางด้านความมั่นคงปลอดภัย และเชื่อว่าทั้งสองสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความพึงพอใจได้ในแง่ของการให้ค่าจ้างตอบแทนนั่นเอง  หากว่าความต้องการทางด้านเศรษฐกิจยังไม่ได้รับการตอบสนองให้อยู่ในขั้นที่น่าพอใจ ความต้องการขั้นสูงกว่าจะยังไม่เกิดขึ้น และจะยังไม่เป็นสิ่งจูงใจให้คนทำงาน
2. นับตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ถึงสิ้นเทอมปีการศึกษาภาคการเรียนที่ 1/2553 นักศึกษาจงวิเคราะห์ตนเองในเรื่องส่วนตัว การศึกษาในเทอมนี้ (25 คะแนน) โดย


     2.1 ตั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ต้องการทำให้บรรลุผลสำเร็จ


     2.1.1 นักศึกษามีแบบแผนในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามต้องการ
     2.1.2 นักศึกษาสามารถสอบปลายภาคผ่านทุกวิชา
     2.1.3 ขึ้นฝึกปฏิบัติงานวิชาการบริหารการพยาบาลและวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุได้เกรด A
     2.1.4 นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติงานตามเวลาที่กำหนด
     2.1.5 นักศึกษาสามารถจบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ตามหลักสูตร 4 ปี
     2.1.6 นักศึกษาสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพผ่าน 8 วิชาได้


3. จากการที่นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติงานที่ตึกผู้ป่วยทุก Area ให้นักศึกษาทบทวนสถานการณ์ที่เป็นปัญหาขัดแย้ง (conflict) ในเชิงบริหาร 1 สถานการณ์ (25 คะแนน) โดย
สถานการณ์


        ในขณะที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยสูติกรรม เวลา 07.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่พยาบาลกำลังวุ่นวายในการเตรียมส่งเวรให้กับเวรเช้า แต่ในขณะเดียวกันก็มีแม่หลังคลอดคนหนึ่งร้องครวญครางดังมาก เพราะเจ็บแผลฝีเย็บ และน้ำคาวปลาก็ไหลเปื้อนผ้าถุงไปหมด จึงบอกให้พยาบาลมาช่วยดูและขอยาแก้ปวด แต่พยาบาลกลับตะครอกใส่ผู้ป่วย บอกว่ากำลังยุ่งอยู่ ทนเอาเดี๋ยวก็หาย จึงเกิดความไม่พอใจกันระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย แต่ในขณะนั้นหัวหน้าหอผู้ป่วยจึงเดินเข้ามาพบ

      3.1 ถ้านักศึกษาดำรงบทบาทหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หัวหน้าตึก หัวหน้าเวร หัวหน้าทีม และอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ นักศึกษาจะแก้ไขสถานการณ์นั้นอย่างไร?


แก้ไขสถานการณ์กับผู้ป่วย มีดังนี้


       1. ขอโทษผู้ป่วยและถามเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย พร้อมช่วยในการทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยให้เรียบร้อย เพื่อให้ผู้ป่วยใจเย็นลง
       2. เมื่อผู้ป่วยยังมีอาการปวดอยู่ ให้ยาแก้ปวด
       3. อธิบายเหตุผลที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ และยอมรับฟังคำอธิบายจากผู้ป่วย พร้อมทั้งให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก


แก้ไขในด้านตัวพยาบาล มีดังนี้


       1. เรียกพยาบาลเข้ามาพบ เพื่อซักถามสาเหตุที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น
       2. ซักถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อหาสาเหตุในการแก้ไขปัญหา
       3. อธิบายเกี่ยวกับข้อเสียที่จะก่อให้เกิดต่อตัวพยาบาลเองและตัวผู้ป่วย เมื่อพยาบาลกระทำเช่นนี้
4.ว่ากล่าวตักเตือน เพื่อให้พยาบาลมองเห็นความสำคัญของผู้ป่วยมากกว่านี้และมีความกระตืรือร้นมากกว่านี้


        3.2 นักศึกษาจะหาแนวทางป้องกันไม่ให้สถานการณ์นี้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร?


แนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกก็คือ
        1. ว่ากล่าวตักเตือนพร้อมทั้งตั้งข้อกำหนดขึ้น ถ้าหากผู้ใดมีปฏิกิริยาที่ไม่เหมาะสมดังนี้ จะให้รายงานความผิดเป็นการภาคทัณฑ์
        2. จัดอัตรากำลังที่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย เพื่อไม่ให้พยาบาลเกิดการแบกรับภาระมากเกินไป
        3. ให้ผู้ป่วยเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการกับผู้ป่วย
        4. จัดเข้าอบรมเกี่ยวกับมารยาท ทั้งในด้านน้ำเสียงพูด การพูดเพื่อปฏิเสธ สำเนียง ปฏิกิริยาที่แสดงออกขณะเกิดความไม่พอใจหรือต้องการหลีกเลี่ยง และพฤติกรรมที่แสดงออก

1 ความคิดเห็น: