วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

1.ผู้นำในดวงใจของท่านคือใคร  จงนำเสนอรายละเอียดภาวะผู้นำที่นักศึกษาเลือกมา  1  ท่าน  และเลือกเป็นผู้นำในลักษณะใด  โดยใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำวิเคราะห์
                จากตลอดการขึ้นฝึกปฏิบัติงานมาตลอด  3  ปี  นักศึกษาได้มองเห็นความเป็นผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 2  โรงพยาบาลขอนแก่น  นางพิสมัย  จ่ายหนองบัว  ซึ่งขณะขึ้นฝึกปฏิบัติงานท่านจะให้ความเอ็นดูนักศึกษาทุกสถาบันเท่าเทียมกัน  ไม่มีการเปรียบเทียบของแต่ละสถาบันและยังช่วยเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่สภาทางการพยาบาลที่มาตรวจเยี่ยมนักศึกษาขณะขึ้นฝึกปฏิบัติงานร่วมกับอาจารย์  พร้อมทั้งแนะนำวิธีการพูดหรือประเมินบุคคล  และในด้านผู้นำทางการบริหารท่านจะเป็นคนที่มีความเป็นกันเอง  ตรงต่อเวลา  มีคุณธรรมและเป็นที่เคารพรักของบุคลากรในหอผู้ป่วย  ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบกับทฤษฎี  ดังนี้ 
จากทฤษฎีเคิร์กแพตตริกและล็อก ได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่จะประสบผลสำเร็จในการทำงานสูงกว่าผู้ที่ไม่ใช่ผู้นำนั้น จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้
1. แรงจูงใจ ( drive ) กล่าวคือ  เป็นลักษณะที่ผู้นำแสดงให้เห็นถึงความเพียรพยายามในการทำงานสูงมากที่จะทำงานให้บรรลุความสำเร็จ โดยสะท้อนออกมาในรูปของการเป็นผู้มีความทะเยอทะยาน มีพลังในการทำงาน เป็นผู้ที่ไม่เคยมีความเหน็ดเหนื่อยในการทำงาน และแสดงออกให้เห็นถึงความริเริ่มสร้างสรรค์อยู่เสมอ
2. มีความปรารถนาแรงกล้าที่จะนำผู้อื่น ( desire to lead ) กล่าวคือ เป็นคุณลักษณะที่ผู้นำมีความต้องการอบ่างแรงกล้า ที่จะมีอิทธิพลและจะนำผู้อื่น เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความเต็มใจ ทีพร้อมจะเข้าไปรับผิดชอบ
3. มีความซื่อสัตย์แลและมีศักดิ์ศรี ( honesty and integrity ) กล่าวคือ ผู้นำจะสร้างความไว้วางใจให้กับผู้อื่นเกิดความเชื่อถือ ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมกับผู้ใต้บังคับบัญชา และแสดงออกถึงความเสมอต้นเสมอปลายในการทำงานร่วมกับคนอื่น รวมทั้งแสดงให้เห็นว่าคำพูดและการปฏิบัติของผู้นำสอดคล้องกันตลอดเวลา
4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ( self-confidence ) กล่าวคือ ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถมองผู้นำโดยปราศจากข้อกังขาใดๆ ดังนั้นผู้นำจะต้องแสดงออกถึงความเชื่อมั่นในตนเอง เพื่อที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดการยอมรับ ว่าการกำหนดเป้าหมายและการตัดสินใจของผู้นำที่ถูกต้อง
5. มีความฉลาด ( intelligence ) กล่าวคือ ผู้นำจะต้องมีความฉลาดเพียงพอที่จะรวบรวมสังเคราะห์และตีความสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมายหรือมีอยู่อย่างจำกัด ในอันที่จะนำไปใช้เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ การแก้ปัญหา การตัดสินใจที่ถูกต้อง
6. มีความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่ ( job-relevent knowledge ) กล่าวคือ ผู้นำที่มีศักยภาพสูงจะต้องมีความรู้และความรอบรู้เกี่ยวกับงานขององค์การ ตลอดจนเทคนิคในการทำงานยิ่งไปกว่านั้นการที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งในการทำงาน จะทำให้ผู้นำสามารถตัดสินใจ และเข้าใจแนวทางของการนำผลการตัดสินใจไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.นักศึกษาจงศึกษาค้นคว้าพร้อมสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิดภาวะผู้นำของศาสตราจารย์  ดร.นพ. กระแส  ชนะวงษ์  เจ้าของรางวัลรามอนแมกไซไซ  สาขาชุมชน


 

นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2477 ที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น จบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพ จากนั้นเข้าศึกษาหลักสูตรเตรียมแพทย์จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาสำเร็จแพทยศาสตร์บัณฑิต จากคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยมหิดล) ในปี พ.ศ. 2503
ในปี พ.ศ. 2510 สำเร็จปริญญาโท ด้านบริหารงานสาธารณสุข Diptoma Tropicat Public Health (D.T.P.H.) จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อมาสำเร็จปริญญาเอก ด้านบริหารงานทางด้านประชากรศาสตร์ Doctor of Public Health (Dr. P.H.) จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2526
นอกจากนี้ นายแพทย์กระแสได้รับมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ (Ph.D) จากมหาวิทยาลัยบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ. 2528 และปริญญาคุรุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา จากสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2545
ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ เกิดวันที่วันที่ 1 มีนาคม 2478 จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจากคณะแพทย์ศิริราชพยาบาล สำเร็จปริญญาโทด้านการสาธรณสุข จากมหาวิทยาลัยลอนดอน และสำเร็จปริญญาเอก ด้านการสาธรณสุข จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ค มหาวิทยาลัยที่ท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเพิ่งไปแสดงสุนทรพจน์มาหมาดๆ  ที่น่าแปลกใจก็คือ คุณหมอกระแสเริ่มทำงานครั้งแรกในชีวิตด้วยการเป็นพนักงานเทศบาลตำบลเมืองพล จังหวัด ขอนแก่นซึ่งเป็นบ้านเกิดอยู่ถึง 12 ปี ที่สำคัญยังได้รางวัลพนักงานเทศบาลดีเด่นประจำปี จากสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2507 อีกด้วย จากนั้นเป็นผู้อำนวยการศูนย์อนามัยแม่และเด็กที่เมืองพล 3 ปี ก่อน ผันตัวเองไปเป็นข้าราชการมหาวิทยาลัยที่ มหาวิทยาลัยมหิดล 8 ปี และที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นอีก 2 ปี มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นอาจารย์ ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และที่สุดได้รับโปรดเกล้าเป็นศาสตราจารย์  ชีวิตของคุณหมอกระแสเป็นแรงบันดาลใจของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ เพราะเกิดในครอบครัวชาวนาที่ยากจน ในวัยเด็กต้องดิ้นรนทำงานเพื่อส่งตัวเองเรียนหนังสือมาตั้งแต่อายุ 13 ปี แต่ในที่สุดก็สามารถจบการศึกษาจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ แต่แทนที่จะประกอบอาชีพในเมืองหลวงอย่างสุขสบาย นายแพทย์กระแส กลับอุทิศตัวโดยใช้วิชาชีพเพื่อดูแลรักษาประชาชนที่ยากจนในชนบทห่างไกล โดยหลังจากจบการศึกษา                  นายแพทย์กระแส  ก็ได้กลับไปบ้านเกิดเพื่อตั้งสถานพยาบาลแห่งแรกในอำเภอพล ซึ่งแต่เดิมไม่มีหมอหรือสถานพยาบาลใดๆ มาก่อน นายแพทย์กระแสเป็นผู้เริ่มต้นบุกเบิกการรักษาพยาบาลประชาชนที่ยากจนในอำเภอพลโดยบุกเบิกทำทุกอย่างแม้แต่การซ่อมและทาสีตัวอาคารด้วยตนเอง ตลอดจนได้ชักชวนให้ ข้าราชการชาวบ้านและพ่อค้าในท้องถิ่นช่วยกันสนับสนุนการตั้งสถานพยาบาลแห่งนี้ ผลงานจากการอุทิศตัวของนายแพทย์กระแสได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง  และเคยเป็นประธานคณะที่ปรึกษาองค์การประชากรของสหประชาชาติในประเทศบังคลาเทศ 1 ปี เป็นที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกระยะสั้นๆ ในหลายประเทศ เช่น เนปาล อินเดีย บังคลาเทศ พม่า และอินโดนีเซีย ฯลฯ เป็นต้น เป็น ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย (CARE International) เป็นประธานมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันสาธารณภัยแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Centre / ADPC )
สำหรับประสบการณ์ทางการเมืองนั้น เคยเป็น สส. ขอนแก่น 2 สมัย และเป็น สส.กทม. อีก 2 สมัยก่อน จะลงสมัคร สส.ที่ขอนแก่นและ สส. กทม. เคยได้รับเลือกจาก สมัชชาแห่งชาติที่สนามม้านางเลิ้ง เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 5 มาแล้ว เคยเข้าร่วมรัฐบาล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เคยได้รับเลือกให้ เป็นนายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทยถึง 2  สมัย  แต่ที่ทำให้ประชาชนคนไทยรู้จักกันทั่วประเทศ เห็นจะได้แก่รางวัลแม็กไซไซ ในปี พ.ศ. 2516 สาขาผู้นำชุมชน จากมูลนิธิรามอน แมกไซไซ ประเทศฟิลิปปินส์ ต่อมายังได้ รางวัลนักสาธารณสุขดีเด่นระหว่างประเทศจาก Western Consortium in Public Health ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีพ.ศ. 2529 เป็นเครื่องการันตีความสามารถและทุ่มเทให้กับงานชุมชนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
จากประวัติที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่านายแพทย์กระแสได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชนในปี 1973 ซึ่งการที่จะได้รางวัลนี้จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเป็นภาวะผู้นำสูง จากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำ นายแพทย์กระแส  ชนะวงศ์ ได้นำแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีคุณลักษณะซึ่งทฤษฎีนี้จะอธิบายคุณลักษณะต่าง ๆ ของผู้นำที่ประสบผลสำเร็จโดยมองว่าคุณลักษณะของผู้นำคือ ลักษณะความสามารถในการนำและดำเนินกิจกรรมให้กลุ่มไปสู่เป้าหมายตามที่กำหนด รวมทั้งความสามารถในการนำกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาและความสามารถในการสร้างขวัญ กำลังใจให้เกิดแก่กลุ่ม ซึ่งคุณลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพได้จากแนวคิดของคอตเตอร์


          ผู้นำที่ประสบผลสำเร็จมีลักษณะสำคัญ 6 ประการคือ
1.ลักษณะด้านแรงจูงใจ (mo ives needs) ของผู้นำที่ประสบผลสำเร็จประกอบด้วย
          1.1.ชอบอำนาจ (liked power)
          1.2.ชอบความสำเร็จ (liked achievement)
          1.3.มีความทะเยอทะยาน (ambitious)
2.ลักษณะด้านอารมณ์ (temperament) ของผู้นำที่ประสบผลสำเร็จประกอบด้วย
          2.1.มีความมั่นคงทางอารมณ์
          2.2.เป็นคนมองโลกในแง่ดี
3.ลักษณะด้านความคิด (cognitive) ของผู้นำที่ประสบผลสำเร็จประกอบด้วย
          3.1.ฉลาดกว่าบุคคลทั่วไป
          3.2.มีความสามารถในการวิเคราะห์จากระดับปานกลางถึงระดับมาก
          3.3.มีความสามารถในการหยั่งรู้ในระดับมาก
4.ลักษณะด้านปฏิสัมพันธ์ (interpersonal)   ของผู้นำที่ประสบผลสำเร็จประกอบด้วย
           4.1. มีรูปลักษณ์ที่ดีและเป็นที่ดึงดูดใจผู้พบเห็น
           4.2. มองผลประโยชน์ขององค์การในมุมกว้าง
5.ลักษณะด้านความรู้ (Knowledge) ของผู้นำที่ประสบผลสำเร็จประกอบด้วย
           5.1. มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ตนปฏิบัติ
           5.2 มีความรู้เกี่ยวกับองค์การของตน
6.ลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์ (relationship) ของผู้นำที่ประสบผลสำเร็จประกอบด้วย
           6.1. สามารถร่วมมือกับบุคลากรส่วนใหญ่ขององค์การ
           6.2. สามารถร่วมมือกับบุคคลที่อยู่ในองค์การประเภทเดียวกัน


วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

หลักจริยธรรมทางการพยาบาล

                                            หลักจริยธรรมทางการพยาบาล 


           จริยธรรม (Ethic) หมายถึง หลักความประพฤติปฏิบัติที่ดีงามของบุคคลโดยมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี กฎหมาย รวมถึงจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้บุคคลแสดงออกในสิ่งที่ดี เหมาะสม ถูกต้องอย่างมีหลักการ โดยใช้ความรู้สติปัญญา เหตุผล พิจารณาไตร่ตรองว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม
           
           จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล (Code of nurses) หมายถึง หลักแห่งความประพฤติที่ถูกต้องเหมาะสมของวิชาชีพพยาบาล

           จรรยาบรรณวิชาชีพ
            การพยาบาลเป็นการปฏิบัติโดยตรงต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม นับได้ว่าเป็นบริการในระดับสถาบันของสังคม ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติ มีจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นแนวทางในการประพฤติและปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสังคมโดยส่วนรวม

จรรยาบรรณวิชาชีพ
        จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับพยาบาลเป็นการประมวลหลักความประพฤติให้บุคคลในวิชาชีพยึดถือปฏิบัติ สมาคมพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา (The America Nurses Associations A.N.A.) ได้กำหนดสาระสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาลไว้ดังนี้
1. พยาบาลพึงให้บริการพยาบาลด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยไม่จำกัด ในเรื่องสถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ คุณสมบัติเฉพาะกิจหรือสภาพปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย
2. พยาบาลพึงเคารพสิทธิส่วนตัวของผู้ป่วยโดยรักษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยไว้เป็นความลับ
3. พยาบาลพึงให้การปกป้องคุ้มครองแก่ผู้ป่วย สังคม ในกรณีที่มีการให้บริการสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยถูกกระทำการที่อาจเกิดจากความไม่รู้ ขาดศีลธรรม จริยธรรม หรือการกระทำที่ผิดกฎหมายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใด
4. พยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจและให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยแต่ละราย
5. พยาบาลพึงดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล
6. พยาบาลพึงตัดสินใจด้วยความรอบคอบถี่ถ้วน ใช้ข้อมูลสมรรถนะและคุณสมบัติอื่นๆ เป็นหลักในการขอคำปรึกษาหารือ ยอมรับในหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึง การมอบหมายกิจกรรมการปฏิบัติการพยาบาลให้ผู้อื่นปฏิบัติ
7. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในกิจกรรมการพัฒนาความรู้เชิงวิชาชีพ
8. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล
9. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการที่จะกำหนดและดำรงไว้ซึ่งสถานะภาพของการทำงานที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง
10. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการปกป้อง คุ้มครอง สังคม จากการเสนอข้อมูลที่ผิด และดำรงไว้ซึ่งความสามัคคีในวิชาชีพ
11. พยาบาลพึงร่วมมือและเป็นเครือข่ายกับสมาชิกด้านสุขภาพอนามัยและบุคคลอื่นๆในสังคมเพื่อส่งเสริมชุมชนและสนองตอบความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของสังคมสำหรับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้กำหนดจรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคม พ.ศ. 2528 มุ่งเน้นให้พยาบาลได้ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยกำหนดเป็นความรับผิดชอบต่อประชาชน ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ต่อผู้ร่วมวิชาชีพและต่อตนเองดังนี้

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อประชาชน
1. ประกอบวิชาชีพด้วยความมีสติ ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2. ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาคตามสิทธิมนุษยชน โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา และสถานภาพของบุคคล
3. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติ และการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
4. พึงเก็บรักษาเรื่องส่วนตัวของผู้รับบริการไว้เป็นความลับ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้นั้นหรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
5. พึงปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการวินิจฉัยและการแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยอย่างเหมาะสมแก่สภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
6. พึงป้องกันภยันตรายอันจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อสังคมและประเทศชาติ
1. พึงประกอบกิจแห่งวิชาชีพให้สอดคล้องกับนโยบายอันยังประโยชน์แก่สาธารณชน
2. พึงรับผิดชอบร่วมกับประชาชนในการริเริ่ม สนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุข และยกระดับคุณภาพชีวิต
3. พึงอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
4. พึงประกอบวิชาชีพโดยมุ่งส่งเสริมความมั่นคงของชาติ ศาสนา และสถาบันกษัตริย์

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อวิชาชีพ
1. พึงตระหนักและถือปฏิบัติในหน้าที่ความรับผิดชอบตามหลักการแห่งวิชาชีพการพยาบาล
2. พัฒนาความรู้และวิธีปฏิบัติให้ได้มาตรฐานแห่งวิชาชีพ
3. พึงศรัทธาสนับสนุนและให้ความร่วมมือในกิจกรรมแห่งวิชาชีพ
4. พึงสร้างและธำรงไว้ซึ่งสิทธิอันชอบธรรม ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
5. พึงเผยแพร่ชื่อเสียงและคุณค่าแห่งวิชาชีพให้เป็นที่ปรากฏแก่สังคม

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
1. ให้เกียรติ เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้ร่วมวิชาชีพและผู้อื่น
2. เห็นคุณค่าและยกย่องผู้มีความรู้ ความสามารถในศาสตร์สาขาต่างๆ
3. พึงรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดี กับผู้ร่วมงานทั้งภายในและภายนอกวิชาชีพ
4. ยอมรับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และชักนำให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร
5. พึงอำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือแก่ผู้ร่วมงานในการปฏิบัติภารกิจอันชอบธรรม
6. ละเว้นการส่งเสริมหรือปกป้องผู้ประพฤติผิด เพื่อผลประโยชน์แห่งตนหรือผู้กระทำการนั้นๆ

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อตนเอง
1. ประพฤติตนและประกอบกิจแห่งวิชาชีพ โดยถูกต้องตามกฎหมาย
2. ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
3. ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในด้านการประกอบกิจแห่งวิชาชีพและส่วนตัว
4. ใฝ่รู้พัฒนาแนวคิดให้กว้าง และยอมรับการเปลี่ยนแปลง
5. ประกอบกิจแห่งวิชาชีพด้วยความเต็มใจ และเต็มกำลังความสามารถ
6. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมีสติ รอบรู้ เชื่อมั่นและมีวิจารณญาณอันรอบคอบ

                                
                           ตัวอย่างปัญหาจริยธรรมทางการพยาบาล
           ผู้ป่วยท่านหนึ่งนับถือศาสนาอิสลาม และได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งซึ่งห้องที่เธออยู่เป็นห้องรวมมีผู้ป่วยประมาณ 14 เตียง จนกระทั่งวันหนึ่งเธอรักษาตัวจนดีขึ้นและสามารถลุกลงจากเตียงได้ เธอได้ลงจากเตียงแล้วทำการนมัสการต่อพระเจ้า (นมาซ) ที่ข้างเตียงของตัวเอง และในขณะนั้นมีพยาบาลผู้ให้การดูแลเข้ามาเห็นเข้า เธอห้ามผู้ป่วยไม่ให้ปฏิบัติเช่นนั้น เพราะในห้องนั้นมีผู้ป่วยอยู่รวมหลายคน ผู้ป่วยไม่ควรทำอะไรแปลกไปจากคนอื่นๆ ผู้ป่วยจึงให้เหตุผลว่าการนมัสการต่อพระเจ้าของเธอไม่ได้ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นแต่อย่างไร เธอควรมีสิทธิตามความเชื่อทางศาสนาและเธอก็ควรนมัสการพระเจ้าตามแบบของเธอได้
         จากสถานการณ์ดังกล่าวสามารถสรุปประเด็นปัญหาทางจริยธรรมและจรรยาบรรณได้ดังต่อไปนี้

ประเด็นที่หนึ่ง คือ ควรหรือไม่ที่จะให้ผู้ป่วยทำตามความเชื่อทางศาสนาของตัวเอง
ประเด็นที่สอง คือ บทบาทของพยาบาลควรห้ามผู้ป่วยหรือไม่
ประเด็นที่สาม คือ ระหว่างสิทธิผู้ป่วยกับความเป็นระเบียบของโรงพยาบาลสิ่งใดควรคำนึงถึงมากกว่ากัน
อภิปราย
       1. ควรให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามความเชื่อของตัวเองซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพไว้ว่า สิทธิในการนับถือศาสนา คนไทยทุกคนมีสิทธินับถือศาสนาอะไรก็ได้ที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่นับถือศาสนาใดเลยก็ได้ และมีสิทธิประกอบพิธีตามหลักศาสนาที่ตนนับถือได้
       2. ตามหลักความรับผิดชอบในการการพยาบาลโดยเคารพในสิทธิมนุษยชน พยาบาลต้องยอมรับและเคารพในความเป็นบุคคล และความต้องการพื้นฐานอันเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของผู้รับบริการ
       3. จากสถานการณ์ตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นได้ว่าการขาดความตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนของผู้ป่วยที่พึงได้รับนั้นสำคัญยิ่ง ตามหลักจรรยาบรรณสำหรับพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ เช่น พยาบาลพึงให้การพยาบาลแก่มนุษย์ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและความแตกต่างของแต่ละบุคคล โดยไม่จำกัดในเรื่องสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจ คุณสมบัติเฉพาะตัวของผู้ป่วย หริสภาพของปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส่งข้อสอบ

1. นักศึกษาจงค้นคว้างานวิจัย / วิทยานิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับ empowerment หรือ motivation ในเชิงการบริหารงานการพยาบาล (50 คะแนน)
1.1 สรุปเป็นบทความเชิงวิชาการ ความยาวไม่เกิน 1 ½ หน้า กระดาษ A4
     
       งานวิจัยเรื่อง ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร
      งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร โดยผลการศึกษาในครั้งนี้ จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากลยุทธวิธีในการจูงใจให้พยาบาลทำงานอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งเป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพการทำงานของบุคลากร โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาลประจำการใน โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ทุกแผนกของโรงพยาบาล จำนวน 127 คน ซึ่งได้มาจากการเก็บข้อมูลได้ทั้งหมด โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถามตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยดำเนินการตามลำดับขั้นดังนี้
    1. ผู้วิจัยขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท เพื่อขออนุญาตเก็บข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท ที่เป็นกลุ่มประชาการ
    2. ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเอง โดยพบกับหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลททหัวหน้าแผนก และพยาบาลประจำการ เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และขอความร่วมมือในการทำวิจัยครั้งนี้ และเก็บข้อมูลที่ตอบเสร็จแล้วคืนภายใน 3 สัปดาห์ โดยส่งแบบสอบถามจำนวน 140 ฉบับ ได้คืนมา 127 ฉบับ
    3. ผู้วิจัยนำแบบสอบถามจำนวน 127 ฉบับ มาคัดเลือกเฉพาะฉบับที่สมบูรณ์ ปรากฏว่า สมบูรณ์ทุกฉบับจึงนำมาวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป  ซึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ 3 ด้าน คือ
   1. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และลักษณะงาน โดยการคำนวณค่าความถี่ ค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลด้านอายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของพยาบาล รายได้ต่อเดือน ทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล ความรับผิดชอบต่อครอบครัว สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับสมาชิกในครอบครัว บรรยากาศในการทำงาน สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้บังคับบัญชา สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับเพื่อนร่วมงาน สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ใต้บังคับบัญชา และด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท โดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา โดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
    3. ค้นหาตัวพยากรณ์ที่สามารถพยาการณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ


ซึ่งผลการศึกษาค้นคว้าสรุปได้ดังนี้
    1. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 มี 8 ตัวแปร ได้แก่ ลักษณะงานพยาบาลผู้ป่วยเด็ก ทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล ความรับผิดชอบต่อครอบครัว สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับสมาชิกในครอบครัว บรรยากาศในการทำงาน สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้บังคับบัญชา สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับเพื่อนร่วมงาน และสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ใต้บังคับบัญชา
    2. ตัวแปรที่ไม่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 มี 10 ตัวแปร ได้แก่ อายุ สถานภาพโสด สถานภาพคู่ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของพยาบาล ระดับการศึกษาปริญญาตรี ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน ลักษณะงานพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูง ลักษณะงานพยาบาลผู้ป่วยใน และลักษณะงานพยาบาลผู้ป่วยนอก
    3. ตัวแปรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมมิติเวช สุขุมวิท อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มี 2 ตัวแปร โดยเรียงลำดับจากตัวแปรที่ส่งผลจากมากไปน้อย คือ สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับเพื่อนร่วมงาน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของพยาบาล

1.2 กรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัย

ตัวแปรอิสระ                                                                                  ตัวแปรตาม


1. ตัวแปรด้านส่วนตัว ได้แก่                                                
    1.1 อายุ
    1.2 สถานภาพสมรส
    1.3 ประสบการณ์ทำงาน
    1.4 ระดับการศึกษา                                                             แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
    1.5 รายได้ต่อเดือน
    1.6 ลักษณะงาน
    1.7 ทัศนคติต่อวิชาชีพ


2. ตัวแปรด้านครอบครัว ได้แก่
    2.1 ความรับผิดชอบต่อครอบครัว
    2.2 สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับสมาชิกในครอบครัว


3. ตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่
    3.1 บรรยากาศในการทำงาน
    3.2 สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้บังคับบัญชา
    3.3 สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับเพื่อนร่วมงาน
    3.4 สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ใต้บังคับบัญชา


1.3 สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัย/วิทยานิพนธ์


      1.3.1 ทฤษฎีการจูงใจของ David Mc Celland : (Achievement Theory)
              แมคเคลลันด์ ( นิรนันท์ เอื้อทวีทรัพย์.2539:26; อ้างอิงจาก Mc Celland.1971 ) ได้กล่าวว่า ในการวิจัยเกี่ยวกับการจูงใจได้ระบุถึงแรงจูงใจที่สำคัญ 3 อย่างคือ ความต้องการด้านสังคม อำนาจ และความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง
              Mc Celland ไม่จัดความสำคัญของแรงจูงใจทั้งสามอย่างในแต่ละคน เพราะบางคนอาจมีความต้องการทางด้านความสัมพันธ์ทางด้านสังคมเป็นอย่างมาก ในขณะที่บุคคลอื่นอาจจะมีความต้องการทางด้านอำนาจเหนือบุคคลอื่น หรืออาจจะมีความสนใจน้อยในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบุคล แต่จะให้ความสำคัญกับความสำเร็จในเป้าหมายของงานมากกว่า แต่บุคคลใดบุคคลหนึ่งอาจจะมีคะแนนสูงทั้งความต้องการทางด้านความสำเร็จและความต้องการทางด้านอำนาจแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทั้ง 3 อย่าง สามารถนำมาอธิบายได้ดังนี้
            1. ความต้องการความสำเร็จ เป็นแรงขับเพื่อให้ได้ซึ่งความสำเร็จหรือเป็นแรงจูงใจที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีกว่า และมีประสิทธิภาพสูงกว่าและมีผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
            2. ความต้องการความรัก เป็นความต้องการเพื่อสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
            3. ความต้องการมีอำนาจบารมี เป็นความต้องการที่จะมีอำนาจในการบังคับบัญชาและมีอิทธิพลเหนือคนอื่นนั่นเอง


       1.3.2 ทฤษฎีการจูงใจของ Frederic Herzberg : Herzberg Dual Factor Theory
                เฮอร์ซเบิร์ก ( กรองจิตต์ พรหมรักษ์ .2529:18-21; อ้างอิงจาก Frederic Herzberg. 1959.The Motivation to work.) กล่าวว่า แนวคิดที่สำคัญสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้
              1. มีมิติที่แตกต่างกันอยู่ 2 มิติ เกี่ยวกับเรื่องปัญหาการจูงใจ ในปลายด้นหนึ่งเป็นได้ทั้งสาเหตุของความไม่พอใจและสามารถป้องกันความไม่พอใจได้ ซึ่งเรียกว่า องค์ประกอบเสริมแรงหรือองค์ประกอบส่งเสริม (Hygiene Factor) และอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ องค์ประกอบที่จูงใจ (Motivation Factor) นั่นก็คือ ถ้าหากว่ามีองค์ประกอบของการจูงใจอยู่แล้ว ก็จะนำไปสู่ทัศนคติด้านบวกและแรงจูงใจที่แท้จริงได้
              2. องค์ประกอบส่งเสริม (Hygiene Factor) ซึ่งหมายถึง องค์ประกอบต่างๆ ที่สามารถเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่พอใจ เช่น ค่าจ้าง ผลประโยชน์ สภาพแวดล้อมของการทำงานทางด้านกายภาพ นโยบายและการบริหารงานขององค์การ เป็นต้น หากได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ความไม่พอใจก็จะหายหมดไป แต่ก็จะไม่สร้างหรือมีผลทำให้เกิดทัศนคติทางบวกหรืองแรงจูงใจขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Hygiene Factor ใช้เพื่อป้องกันการเกิดความไม่พอใจ แต่จะไม่ทำหน้าที่เป็นเครื่องเสริมสร้างส่วนบุคคล ดังนั้นHerzberg ได้ชี้ให้เห็นว่าองค์ประกอบทางด้านส่งเสริมนี้จะสามารถนำบุคคลไปสู่จุดของความเป็นกลางเท่านั้น
               3. องค์ประกอบที่จูงใจ (Motivation Factor) หมายถึง องค์ประกอบที่นำไปสู่การพัฒนาทัศนคติทางด้านบวกและการจูงใจ และทำหน้าที่เหมือนเครื่องเสรมสร้างน้ำใจส่วนบุคคลนั้น รวมถึงการยกย่องนับถือ ความรู้สึกของการได้รับผลสำเร็จและความสำเร็จ ความรู้สึกว่างานและเขามีความสำคัญ


1.3.3 ทฤษฎีการจูงใจของ Maslow (Maslow’s Theory of Motivation)
         มาสโลว์ ( สมพงษ์ เกษมสิน 2515:54; อ้างอิงจาก Maslow.1954. Motivation and Personality. ) กล่าวไว้ว่า ความต้องการของคนอาจจะแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ทฤษฎีลำดับความต้องการของ Maslow จะมีข้อสมมติฐาน ดังต่อไปนี้
        1. คนเป็นสัตว์อย่างหนึ่งที่มีความต้องการ ความต้องการของคนไม่มีที่สิ้นสุด
        2. ความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้รับการตอบสนองความพอใจแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจพฤติกรรมต่อไปอีก
        3. ความต้องการของคนจะเรียงลำดับตามความสำคัญ เมื่อต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอย่างอื่นจะเกิดขึ้นทันที


ก.ความต้องการ 5 ขั้นตอน เรียงลำดับได้ดังนี้


                   ความต้องการ ที่จะสำเร็จตามความ นึกคิดของตนเอง
                      (Self Actualization) ความต้องการชื่อเสียง (Esteem)
                             ความต้องการทางด้านสังคม (Social)
                       ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Security)
                       ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological)
                      ลำดับขั้นของความต้องการ (The Needs Hieraachy)
   1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) คือ การทำให้เกิดความพึงพอใจให้แก่ร่างกาย Maslow พิจารณาว่า ความต้องการทางด้านร่างกาย เป็นเสมือนพื้นฐานที่มาก่อนความต้องการสิ่งอื่นทั้งหมด ดังเช่น เมื่อคนหนึ่งมีความหิวจัดและความต้องการอาหารอย่างรุนแรง ความต้องการอย่างอื่นจะถูกลืมไปหมดสิ้น
    2. ความต้องการทางด้านความปลอดภัย (Safety Needs) เมื่อความต้องการทางด้านร่างกายได้รับการตอบสนองเป็นที่พอใจแล้ว ความต้องการทางด้านความปลอดภัยก็จะเกิดขึ้นตามมา ความต้องการความปลอดภัยนี้มีอยู่ 2 แบบ คือ ความต้องการความปลอดภัยทางด้านร่างกาย และความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ
     3. ความต้องการทางด้านสังคม หรือการยอมรับเป็นพวกพ้อง (Social Love or Belonginng Needs) เมื่อความต้องการทางด้านร่างกายและความต้องการความปลอดภัยได้รับการตอบสนองเป็นที่พอใจแล้ว ความต้องการของคนเราจะมีความรู้สึกว่า ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มได้รับการยอมรับและมีความสำคัญต่อกลุ่มก็จะเกิดขึ้น คนเราจะแสวงหาเพื่อน ปรารถนาที่จะมีเพื่อนพ้อง ความต้องการทางด้านความรักนี้ เป็นความต้องการที่จะเป็นผู้ให้ความรัก และได้รับความรักใคร่จากคนอื่นด้วย การขาดความรักในความคิดของ Maslow เห็นว่าสามารถทำให้เกิดผลต่อเนื่องที่เลวร้ายของการปรับตัวไปในทางที่เลวได้
      4. ความต้องการมีชื่อเสียง มีฐานะเด่นทางสังคม (Esteem Needs) เป็นความต้องการที่จะเป็นบุคคลที่มีความมั่นใจในตนเอง การยอมรับและเป็นที่ยกย่องของคนอื่น เพื่อทำงานสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้สำเร็จ ความพึงพอใจในการที่มีฐานะเด่นทางสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
       5. ความต้องการได้รับความสำเร็จตามความนึกคิด หรือการบรรลุสัจจการแห่งตน (Self-Actualization needs) เป็นความต้องการระดับสูง คือ ความต้องการรู้จักตนเองว่ามีคุณค่า มีความรู้ ความสามารถแท้จริงเพียงใด โดยเฉพาะในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ชาติ เป็นความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่างตามความคิดของตน


      สิ่งที่มาสโลว์ได้ชี้ให้เห็นถึงการจูงใจคนที่สำคัญก็คือ การที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมนั้น จำเป็นต้องเข้าใจถึงธรรมชาติแห่งความต้องการของบุคคลอย่างถ่องแท้เสียก่อน ดังนั้น ความพึงพอใจในงานของบุคคลจะเกิดขึ้นได้ย่อมขึ้นอยู่กับผลตอบแทนที่ได้รับการตอบสนองความต้องการตามลำดับขั้นของแต่ละบุคคล


ข.ความสำคัญของขั้นตอนของความต้องการ (Significance of the need Hierarchy)
       ความต้องการเหล่านี้มีความสำคัญเป็นขั้นตอนตามแนวตั้ง ตัวที่เป็นกลยุทธ์ในการจูงใจให้เกิดพฤติกรรมในการทำงานนั่นก็คือ ความต้องการทางด้านร่างกาย และทางด้านความมั่นคงปลอดภัย และเชื่อว่าทั้งสองสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความพึงพอใจได้ในแง่ของการให้ค่าจ้างตอบแทนนั่นเอง  หากว่าความต้องการทางด้านเศรษฐกิจยังไม่ได้รับการตอบสนองให้อยู่ในขั้นที่น่าพอใจ ความต้องการขั้นสูงกว่าจะยังไม่เกิดขึ้น และจะยังไม่เป็นสิ่งจูงใจให้คนทำงาน
2. นับตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ถึงสิ้นเทอมปีการศึกษาภาคการเรียนที่ 1/2553 นักศึกษาจงวิเคราะห์ตนเองในเรื่องส่วนตัว การศึกษาในเทอมนี้ (25 คะแนน) โดย


     2.1 ตั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ต้องการทำให้บรรลุผลสำเร็จ


     2.1.1 นักศึกษามีแบบแผนในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามต้องการ
     2.1.2 นักศึกษาสามารถสอบปลายภาคผ่านทุกวิชา
     2.1.3 ขึ้นฝึกปฏิบัติงานวิชาการบริหารการพยาบาลและวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุได้เกรด A
     2.1.4 นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติงานตามเวลาที่กำหนด
     2.1.5 นักศึกษาสามารถจบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ตามหลักสูตร 4 ปี
     2.1.6 นักศึกษาสามารถสอบใบประกอบวิชาชีพผ่าน 8 วิชาได้


3. จากการที่นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติงานที่ตึกผู้ป่วยทุก Area ให้นักศึกษาทบทวนสถานการณ์ที่เป็นปัญหาขัดแย้ง (conflict) ในเชิงบริหาร 1 สถานการณ์ (25 คะแนน) โดย
สถานการณ์


        ในขณะที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยสูติกรรม เวลา 07.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่พยาบาลกำลังวุ่นวายในการเตรียมส่งเวรให้กับเวรเช้า แต่ในขณะเดียวกันก็มีแม่หลังคลอดคนหนึ่งร้องครวญครางดังมาก เพราะเจ็บแผลฝีเย็บ และน้ำคาวปลาก็ไหลเปื้อนผ้าถุงไปหมด จึงบอกให้พยาบาลมาช่วยดูและขอยาแก้ปวด แต่พยาบาลกลับตะครอกใส่ผู้ป่วย บอกว่ากำลังยุ่งอยู่ ทนเอาเดี๋ยวก็หาย จึงเกิดความไม่พอใจกันระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย แต่ในขณะนั้นหัวหน้าหอผู้ป่วยจึงเดินเข้ามาพบ

      3.1 ถ้านักศึกษาดำรงบทบาทหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หัวหน้าตึก หัวหน้าเวร หัวหน้าทีม และอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ นักศึกษาจะแก้ไขสถานการณ์นั้นอย่างไร?


แก้ไขสถานการณ์กับผู้ป่วย มีดังนี้


       1. ขอโทษผู้ป่วยและถามเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย พร้อมช่วยในการทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยให้เรียบร้อย เพื่อให้ผู้ป่วยใจเย็นลง
       2. เมื่อผู้ป่วยยังมีอาการปวดอยู่ ให้ยาแก้ปวด
       3. อธิบายเหตุผลที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ และยอมรับฟังคำอธิบายจากผู้ป่วย พร้อมทั้งให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก


แก้ไขในด้านตัวพยาบาล มีดังนี้


       1. เรียกพยาบาลเข้ามาพบ เพื่อซักถามสาเหตุที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น
       2. ซักถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อหาสาเหตุในการแก้ไขปัญหา
       3. อธิบายเกี่ยวกับข้อเสียที่จะก่อให้เกิดต่อตัวพยาบาลเองและตัวผู้ป่วย เมื่อพยาบาลกระทำเช่นนี้
4.ว่ากล่าวตักเตือน เพื่อให้พยาบาลมองเห็นความสำคัญของผู้ป่วยมากกว่านี้และมีความกระตืรือร้นมากกว่านี้


        3.2 นักศึกษาจะหาแนวทางป้องกันไม่ให้สถานการณ์นี้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร?


แนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกก็คือ
        1. ว่ากล่าวตักเตือนพร้อมทั้งตั้งข้อกำหนดขึ้น ถ้าหากผู้ใดมีปฏิกิริยาที่ไม่เหมาะสมดังนี้ จะให้รายงานความผิดเป็นการภาคทัณฑ์
        2. จัดอัตรากำลังที่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย เพื่อไม่ให้พยาบาลเกิดการแบกรับภาระมากเกินไป
        3. ให้ผู้ป่วยเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการกับผู้ป่วย
        4. จัดเข้าอบรมเกี่ยวกับมารยาท ทั้งในด้านน้ำเสียงพูด การพูดเพื่อปฏิเสธ สำเนียง ปฏิกิริยาที่แสดงออกขณะเกิดความไม่พอใจหรือต้องการหลีกเลี่ยง และพฤติกรรมที่แสดงออก